หมายถึง กระบวนการที่ดินและแร่ธาตุอาหารในดินถูกชะล้าง (Leaching) และพัดพา (Transportation)
โดยปัจจัยในการพังทลาย (Erosive agents) ได้แก่ น้ำ และลมถ้าการพังทลายโดยน้ำ เรียก Water erosion ถ้าการ
พังทลายโดยลมเรียก Wind erosion การพังทลายของดินแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การพังทลายโดยธรรมชาติ (Geologic or Natural or Normal erosion)
2. การพังทลายดินที่มีตัวเร่ง (Accelerated or Man-made erosion)ปัจจัยการพังทลายของดิน (Factors effecting to soil erosion)
ปัจจัยที่ทำให้เกิดการพังทลายของดินมี ดังนี้คือ
1. แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เราไม่อาจควบคุมได้ การเกิดแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง มักมีผลกระทบกระเทือนต่อดิน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เช่น เกิดดินแตกแยก และถล่มง่ายต่อการกัดเซาะและพัดพา
2. แรงโน้มถ่วงของโลก เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดการพังทลายของดิน พบได้จากบริเวณที่มีความลาดชันสูง
เมื่อมีฝนตกหนักจนดินอิ่มตัว ทำให้แรงยึดตัวของดินมีน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของโลก ดินที่อิ่มตัวด้วยน้ำจะเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงดึงดูดของโลก เกิดดินเลื่อนหรือแผ่นดินถล่ม เป็นต้น
3. มนุษย์และสัตว์ มนุษย์เป็นสาเหตุทางอ้อม เป็นผู้เร่งให้การพังทลายของดินเกิดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยการใช้ที่ดินปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์เป็นอาหาร หากการใช้ดินนั้นขาดความระมัดระวังหรือใช้อย่างรุนแรงเกินไป จะส่งผลให้ดินมีการพังทลายมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์ถางป่า เพื่อใช้ทำการเกษตร ดินจะถูกกระทบจากแสงแดด น้ำและลม โดยไม่มีสิ่งใดปกคลุม การกัดเซาะและการพัดพาจะเกิดได้มากและรวดเร็วขึ้น นับว่ามนุษย์มีบทบาทสำคัญในการเร่งการเกิดการพังทลายของดิน
4. น้ำ น้ำเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง เมื่อมีฝนตกลงมา แรงกระทบของเม็ดฝนกับดิน จะทำให้ก้อนดินแตกออกเป็นอนุภาคเล็กๆ พร้อมที่จะถูกพัดพาไปที่อื่น ถ้ามีฝนตกมาก น้ำฝนจะรวมตัวกัน และไหลลงสู่ที่ต่ำแรงของน้ำที่เสียดสีไปกับดิน จะทำให้ดินแตกและถูกพัดพาไปด้วยการสูญเสียดิน เกิดจากน้ำมีมากที่สุด
5. ลม ความแรงและความเร็วของลม เป็นสาเหตุทำให้ดินพังทลายได้ เกิดขึ้นมากกับดินที่อยู่ในที่โล่งบริเวณกว้าง ไม่มีสิ่งกำบังเช่น ในทะเลทรายความรุนแรงของการสูญเสียดินขึ้นอยู่กับความแรงของลม หรือสิ่งกีดขวาง หรือสิ่งกำบัง |
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น